แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (LAMPLAIMAT PATTANA SCHOOL)
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตร
มาตรฐาน และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละชั้น
ศึกษาว่าน้ำหนักของแต่ละสาระว่ามีมากน้อยเพียงใด จากนั้นลำดับเนื้อหาที่จะสอน
2. กำหนดสิ่งที่จะประเมิน
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่
ประเมินความเข้าใจด้านเนื้อหา ประเมินด้านการคิด และประเมินความพยายาม
3. กำหนดองค์ประกอบที่จะให้คะแนนในแต่ละด้านที่ต้องการประเมิน
ซึ่งจะนำมาสู่นำมาสู่การตัดสินผลการเรียน(ให้เกรด) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1) ประเมินความเข้าใจด้านเนื้อหา
- กำหนดคะแนนจากการประเมินความเข้าใจจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ได้แก่ ใบงาน สมุด จากการเรียนในแต่ละสาระ น้ำหนักในการให้คะแนน 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
- กำหนดคะแนนจากชิ้นงาน ซึ่งมีน้ำหนักในการให้คะแนนประมาณ 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือชุดประเมินความรู้ทางคณิตศาสตร์
2) ประเมินด้านการคิด
- กำหนดคะแนนจากการประเมินการคิดของนักเรียน น้ำหนักในการให้คะแนน 40% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
3) ประเมินความพยายาม
- กำหนดคะแนนจากความพยายาม น้ำหนักในการให้คะแนนประมาณ 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
1) ประเมินความเข้าใจด้านเนื้อหา
- กำหนดคะแนนจากการประเมินความเข้าใจจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ได้แก่ ใบงาน สมุด จากการเรียนในแต่ละสาระ น้ำหนักในการให้คะแนน 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
- กำหนดคะแนนจากชิ้นงาน ซึ่งมีน้ำหนักในการให้คะแนนประมาณ 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือชุดประเมินความรู้ทางคณิตศาสตร์
2) ประเมินด้านการคิด
- กำหนดคะแนนจากการประเมินการคิดของนักเรียน น้ำหนักในการให้คะแนน 40% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
3) ประเมินความพยายาม
- กำหนดคะแนนจากความพยายาม น้ำหนักในการให้คะแนนประมาณ 20% เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ แบบประเมินโดยใช้เกณฑ์ Rubric
การจัดทำผังความคิด
(Web) เพื่อเชื่อมโยงหน่วยกับเป้าหมายระดับชั้น
และวิเคราะห์ตัวชี้วัดของหน่วยโครงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลาง
ครูเชื่อมโยงTopic
กับเป้าหมายระดับชั้นและกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อให้ครูได้ทราบว่าTopic ที่จะสอนมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในระดับชั้นอะไรบ้าง
1) เพื่อให้ครูได้ทราบว่าTopic ที่จะสอนมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในระดับชั้นอะไรบ้าง
2) เพื่อให้ครูกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดที่จะต้องผ่านในหลักสูตรการศึกษาแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการจัดการเรียนรู้ Topic ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้
ซึ่งครูจะกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละTopic และจับโยงเข้ากับมาตรฐานการเรียนรู้ในTopic
นั้น ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการประเมินและการให้ผลการเรียน
3) เพื่อให้ครูได้ออกแบบกิจกรรมการสอนทั้ง 10 สัปดาห์ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระที่กำหนดไว้
3) เพื่อให้ครูได้ออกแบบกิจกรรมการสอนทั้ง 10 สัปดาห์ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระที่กำหนดไว้
แนวทางการประเมิน
ใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง (Authentic
Assessment)
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ใช้หลักการประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น
การประเมินจากชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐาน/ร่องรอย
ว่านักเรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ
ซึ่งชิ้นงาน/ภาระงานอาจเกิดจากครูผู้สอนกำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกัน
ซึ่งจะประเมินด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ เครื่องมือในการประเมินใช้เกณฑ์Rubric
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) ประเมินจากชิ้นงานที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงว่าเข้าใจดังนี้
1.1 งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียนตอบ ฯลฯ
1.2 ภาพ/แผนภูมิ เช่น นิทาน การ์ตูนช่อง Mind Mapping แผนผัง แผนภูมิ วาดภาพ ชาร์ตกราฟ ตาราง ฯลฯ
1.3 สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจำลอง ฯลฯ
2) ภาระงานได้แก่ การพูด/การนำเสนอปากเปล่า เช่น การท่อง (บทเพลง บทกลอน กวี อาขยาน) การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง สัมภาษณ์ บทบาทสมมุติ เล่นดนตรี การละคร การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ งานที่มีลักษณะผสมผสานชิ้นงาน/ภาระงาน ได้แก่ การทดลอง การสาธิต ละคร วีดีทัศน์ ฯลฯ
1) ประเมินจากชิ้นงานที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงว่าเข้าใจดังนี้
1.1 งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียนตอบ ฯลฯ
1.2 ภาพ/แผนภูมิ เช่น นิทาน การ์ตูนช่อง Mind Mapping แผนผัง แผนภูมิ วาดภาพ ชาร์ตกราฟ ตาราง ฯลฯ
1.3 สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจำลอง ฯลฯ
2) ภาระงานได้แก่ การพูด/การนำเสนอปากเปล่า เช่น การท่อง (บทเพลง บทกลอน กวี อาขยาน) การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง สัมภาษณ์ บทบาทสมมุติ เล่นดนตรี การละคร การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ งานที่มีลักษณะผสมผสานชิ้นงาน/ภาระงาน ได้แก่ การทดลอง การสาธิต ละคร วีดีทัศน์ ฯลฯ
เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
1.ด้านความรู้ (Knowledge)
ด้าน
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
1
|
2
|
3
|
4
|
|
แก่นของเรื่อง
|
- ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
|
-
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
-
แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
|
-
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
-
แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
- แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
|
-
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
-
แสดงออกว่าเข้าใจในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การอธิบาย การให้เหตุผลประกอบ
-
แสดงออกถึงวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-
เข้าใจและอธิบายเป้าหมายหลักของเรื่องที่เรียนรู้และเชื่อมโยง
มองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
|
ความรู้ที่จำเป็น
( ทักษะศตวรรษที่21 )
การประกอบการ เศรษฐศาสตร์
|
มองเห็นภาพหรือเป้าหมายของชิ้นงานต่อทรัพยากรที่มีอยู่
|
ใช้ทรัพยากรที่มี(ต่อภาระงาน
/ชิ้นงาน)เพื่อให้เกิดชิ้นงานอย่างคุ้มค่า
|
วิเคราะห์ สังเคราะห์เป้าหมาย
วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
|
ร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อกำหนดเป้าหมาย
วางแผนและปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม
|
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
|
ใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน
|
ใช้ทรัพยากรเหมาะสมกับชิ้นงาน/ภาระงานได้อย่างคุ้มค่า
|
- ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเหมาะสมกับชิ้นงานและภาระงาน
- ชิ้นงานและภาระงานมีคุณภาพ
|
วางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
|
ความเป็นพลเมือง
วัฒนธรรม ประเพณี
|
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- รับผิดชอบต่อตนเอง
|
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน
และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง และผู้อื่น
|
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน
และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง และผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง
|
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน
และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง และผู้อื่น
-
มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเองและสิ่งอื่น
- สืบสาน ถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง
- มีความพอดี พอใจในการดำรงตนในสังคม
|
สุขภาพ
|
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง
(กิจวัตรประจำวัน)
|
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง
สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
(เลือกอุปกณ์เหมาะกับงาน
ดูแลความปลอดภัยขณะทำงาน กินอาหารที่มีประโยชน์ เลือกใช้สื่อเหมาะสม
|
มีทักษะขั้นพื้นฐานในการดูแลตนเอง
สามารถเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
รวมทั้งสามารถหาแนวทางป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
|
-
ผลิตหรือเลือกสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
-
ใช้ความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ
-
รู้เท่าทันและรู้จักป้องกันรักษาตนเองให้ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ
- มีวิจารณญาณในการบริโภคสิ่งต่างๆ
เช่น อาหาร
สื่อ
-
ดูแลรักษาให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง
- เกิดเจตจำนงที่ดีต่อการใช้ชีวิต
|
2. ด้านทักษะ (Skill)
3. ด้านคุณลักษณะ (Attribute)
ทักษะ
|
ระดับ
|
|||
1
|
2
|
3
|
4
|
|
ความพยายาม
- เป้าหมาย
- ลงมือทำ
- ปรับปรุง พัฒนา
|
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย
|
- มีเป้าหมายในการทำงาน
-
ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย
|
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย
- ปรับปรุง พัฒนางาน
เมื่อเกิดปัญหาแล้วหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา
|
- มีเป้าหมายในการทำงาน
- ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้และงานที่รับมอบหมาย
- ปรับปรุง พัฒนางาน
เมื่อเกิดปัญหาแล้วหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา
- อดทนและสามารถทำงานที่สนใจ
และงานที่รับมอบหมายจนสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการเชื่อมโยงไปสู่สาระอื่นหรือองค์ความรู้อื่น
|
รู้เคารพ
|
แสดงออกถึงความสนใจต่อกิจกรรม
หรือบุคคลและสิ่งต่างๆ
|
แสดงออกถึงการฟังอย่างตั้งใจและมีเป้าหมาย
|
แสดงออกถึงการยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง
ของสังคม
|
แสดงออกถึงการเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงาม
สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
|
การปรับตัว
- รู้จักตนเอง
-
เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
|
- เข้าใจและรู้จักตนเอง
|
- เข้าใจและรู้จักตนเอง
- เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น
|
- เข้าใจและรู้จักตนเอง
-
เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ
ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
|
- เข้าใจและรู้จักตนเอง
-
เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ
ยอมรับและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมและอยู่ร่วมได้
-
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น