แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Topic : จำนวนจริง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวจำนวน
จำนวนตรรกยะ อตรรกยะ สามารถจัดหมวดหมู่จำนวนตรรกยะ อตรรกยะ
กับรวมทั้งนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
Week
|
Input
|
Process
|
Out put
|
Outcome
|
3
|
Key
Questions
- นักเรียนสังเกตเห็นตัวเลขหรือจำนวนที่ไหนบ้าง และมาได้อย่างไร
-
ตัวเลขที่นักเรียนรู้จักสามารถเขียนในรูปไหนได้บ้าง
-
นักเรียนคิดว่าจำนวนตรรกยะ และอตรรกยะ เป็นอย่างไร
และต่างกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
-
นักเรียนคิดว่า จำนวนที่อยู่ระหว่าง
1 กับ 2
มีกี่จำนวน
เครื่องมือคิด
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของตัวเลข
Card
and chart
ตัวเลข จำนวน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
-
กระดาษการ์ด
- กระดาษ A4
|
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเรื่องของจำนวน
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนสังเกตเห็นตัวเลขหรือจำนวนที่ไหนบ้าง และมาได้อย่างไร
-
ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนเขียนตัวเลข จำนวน ที่พบเห็นพร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ช่องโทรทัศน์ เบอร์เสื้อ เลขที่บ้าน
เลขหลักกิโลเมตร เป็นต้น
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนจะมีวิธีการในการจัดหมวดหมู่ตัวเลขได้อย่างไร
เชื่อม :
-
นักเรียนแต่ละคนจัดหมวดหมู่ตัวเลขรวมกันพร้อมทั้งบอกเหตุผลประกอบ
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ตัวเลขที่นักเรียนรู้จักสามารถเขียนในรูปไหนได้บ้าง
- นักเรียนแต่ละคนเสนอรูปแบบของจำนวน เช่น 1 ,
![]() ![]()
-
นักเรียนดูโครงสร้างของจำนวน
![]()
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจำนวนตรรกยะ และอตรรกยะ เป็นอย่างไร
และต่างกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า จำนวนที่อยู่ระหว่าง 1
กับ 2 มีกี่จำนวน
อะไรบ้าง
-
นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็น
-
ครูให้นักเรียนดูเส้นจำนวน แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิกว่าจำนวนฝั่งซ้ายและขวาเป็นตัวเลขอะไรได้บ้างและลักษณะอย่างไร
แต่ละคนแสดงความคิดเห็น
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
จำนวนและจำนวนไม่เต็มเป็นอย่างไร และเราจะเขียนบนเส้นจำนวนได้อย่างไร
ใช้ :
- นักเรียนทำใบงาน
1.
นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะ อตรรกยะ
2.จงพิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้เป็นจริงหรือเท็จ
…………..1) 0.001001001001…เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..2)
0.110110110110… เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..3)
0.767667666766667… เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..4)
0.59999…. เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..5)
0 เป็นจำนวนจริง
…………..6)
จำนวนที่เขียนได้ในรูปทศนิยมซ้ำไม่เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..7)
![]()
…………..8)
![]()
…………..9) 2.548754652 เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..10) 2.5 เป็นจำนวนตรรกยะ
- ครูตั้งโจทย์คำถามชวนให้คิดต่อ นักเรียนคิดว่าจำนวนหรือตัวเลขเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างไร
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ผ่าน Mind mapping
|
- การจัดหมวดหมู่ของจำนวน
- การนำเสนอเกี่ยวกับจำนวนตรรกยะ
อตรรกยะ
-
Mind
mapping ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนจริง
- ใบงาน
|
ความรู้ - เข้าใจที่มาและความสำคัญของตัวเลข ความหลากหลายของจำนวน
อธิบายจำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ - วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เรียนรู้และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ
:
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น
ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับเศษส่วน
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึก
เกี่ยวกับจัดหมวดหมู่ของตัวเลข และการแก้ไขโจทย์ปัญหา
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ
ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ ทักษะ ICT เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูล
คุณลักษณะ 1. สร้างสรรค์ (การออกแบบโจทย์ปัญหาที่แตกต่าง)
2.สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้ 3.วิเคราะห์ (โจทย์ปัญหา) 4. คุณธรรม จริยธรรม
|
บันทึกหลังสอน
ในสัปดาห์นี้ได้ทบทวนเรื่องของจำนวน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด พี่ๆสังเกตเห็นตัวเลขหรือจำนวนที่ไหนบ้าง และคิดว่าตัวเลขนั้นๆมีที่มาอย่างไร
ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนเขียนตัวเลข จำนวน ที่พบเห็นพร้อมทั้งวาดภาพประกอบ เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัว ช่องโทรทัศน์ เบอร์เสื้อ เลขที่บ้าน เลขหลักกิโลเมตร เป็นต้น นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ในการจัดหมวดหมู่ตัวเลข
จากนั้นพี่ดูเส้นจำนวน แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าจำนวนฝั่งซ้ายและขวาเป็นตัวเลขอะไรได้บ้างและลักษณะอย่างไร แต่ละคนแสดงความคิดเห็น ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จำนวนและจำนวนไม่เต็มเป็นอย่างไร และเราจะเขียนบนเส้นจำนวนได้อย่างไร พี่ช่วยกันเสนอความคิดเห็นของตนเอง และนำเสนอกว่าจำนวนหรือตัวเลขเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตเรา และทำใบงาน ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้แล้วนักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ผ่าน Mind mapping
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น