เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- สามารถวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์ อธิบายและให้เหตุผลประกอบสิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างมีเหตุผล
- สามารถนำความรู้ความเข้าใจจากเรื่องที่เรียนเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวรวมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

week1-2

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  Topic : เศษส่วนชวนคิด                                                                                                          
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   Quarter  1  ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา 2558                                                                                       
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวเศษส่วน ทศนิยม  รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วน ทศนิยมได้

Week
Input
Process
Out put
Outcome
 1
 Key  Question :
 - นักเรียนคิดว่าเศษส่วนและทศนิยมต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- เราจะแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมได้อย่างไร

เครื่องมือคิด :
Show and Share
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์กำหนด
Brainstorms
ระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีคิดรวมทั้งออกแบบวิธีคิดร่วมกัน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
นักเรียน/ครู




สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ
- อินเตอร์เน็ต
- สมุดเล่มเล็ก
- โจทย์ปัญหา
- ใบงาน

ขั้นชง :
- ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่นักเรียนได้ทำในช่วงปิดเรียน รวมถึงการบ้านที่ได้มอบหมายให้นักเรียนได้นำไปทบทวนในช่วงปิดเทอม
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเศษส่วนและทศนิยมต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
และเราจะแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมได้อย่างไร
 ตัวอย่างโจทย์
1.  0.5 ,
  2.  , 0.22
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เชื่อม
ครูให้นักเรียนเล่นเกม  “สัมพันธ์ฉันท์เพื่อน” ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับจับคู่ระหว่าง เลขทศนิยมกับเศษส่วนที่มีค่าเท่ากัน 
ชง   :  ครูตั้งคำถาม  6/10   12/100  เราจะเขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้อย่างไร และมีวิธีคิดอย่างไร
เชื่อม   : ครูให้นักเรียนนำเสนอพร้อมแสดงวิธีการคิดหาคำตอบ ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนว่า  “มีใครเห็นความสัมพันธ์ของเศษส่วนกับทศนิยมบ้าง แล้วสัมพันธ์กันอย่างไร”  แล้วใครเห็นแตกต่างจากเพื่อนบ้าง   ครูให้นักเรียนที่เข้าใจอธิบายให้กับเพื่อนที่ไม่เข้าใจ  ก่อนทำงาน
ใช้    :  ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยม ลงในสมุด
ชง  : ครูตั้งคำถาม  0.5   0.96  เราจะเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้อย่างไร และมีวิธีคิดอย่างไร
 เชื่อม   : ครูให้นักเรียนนำเสนอพร้อมแสดงวิธีการคิดหาคำตอบ ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียนว่า  “มีใครเห็นความสัมพันธ์ของทศนิยมกับเศษส่วนบ้าง แล้วสัมพันธ์กันอย่างไร”  แล้วใครเห็นแตกต่างจากเพื่อนบ้าง   ครูให้นักเรียนที่เข้าใจอธิบายให้กับใช้    เพื่อนที่ไม่เข้าใจ  ก่อนทำงาน
ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการแปลงทศนิยมเป็นเศษส่วน ลงในสมุด
- ครูให้แจกใบงานให้นักเรียน เพื่อทบทวนเกี่ยวกับ เลขทศนิยมและเศษส่วน ตัวอย่างเช่น
45.21
32.733
12
พร้อมทั้งได้ตรวจสอบกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคน ในช่วงการนำใบงานมาส่งโดยการใช้คำถามเพื่อทบทวนความเข้าใจของนักเรียน
- ครูและนักเรียนเรียนรู้ร่วมกันพร้อมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน
- การแสดงความคิดเห็นและออกแบบวิธีคิดจากโจทย์ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับของตนเอง  พร้อมทั้งนำเสนอกระบวนการคิดของตนเอง
ชิ้นงาน
ใบงานเกี่ยวกับการแปลงเศษส่วน และทศนิยม

ความรู้:
- การแปลงเศษส่วน ทศนิยม  รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วน ทศนิยม
- วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เรียนรู้และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับเศษส่วน
 ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้

คุณลักษณะ :
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-คารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
อย่างไม่มีอคติ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น















ในสัปดาห์นี้ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมา เพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งนักเรียนแต่ละคนแชร์สิ่งที่ตนเองเข้าใจพร้อมทั้งอธิบายให้เพื่อนและครูฟัง แล้วนักเรียนแต่ละคนสรุปองค์ความรู้(ก่อนเรียน) ในรูปแบบ  Mind mapping 

นักเรียนทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวเศษส่วน ทศนิยม  รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วน ทศนิยมให้เพื่อและครูฟัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น